Get Adobe Flash player

มทร.ศรีวิชัย

You are here

Home » Feed aggregator » Sources

ข่าวประชาสัมพันธ์

Updated: 19 min 12 sec ago

มทร.ศรีวิชัย ร่วมใจ “ร้อยบาทร้อยดวงใจ ช่วยภัยโควิด-19 ”

Thu, 30/09/2021 - 17:51

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์   สุธรรม ชุมพร้อมญาติ พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ร่วมบริจาคน้ำดื่ม และผลิตภัณฑ์สมุนไพร ภายใต้โครงการ “ร้อยบาทร้อยดวงใจ ช่วยภัยโควิด-19 ” ให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 5 หน่วยงาน ได้แก่ โรงพยาบาลบางขัน โรงพยาบาลทุ่งใหญ่ โรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ โรงพยาบาลท่าศาลา และกิ่งกาชาดอำเภอทุ่งสง ในโครงการดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบุคลากร และผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันบริจาค เพื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ซึ่งดำเนินการผลิตโดยสาขาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพที่สร้างสรรค์สังคม โดยมีเรือนศรีวิชัย คลินิกการแพทย์แผนไทย ที่รองรับให้นักศึกษามีการปฏิบัติจริงตามหลักสูตรที่ได้มีการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการนวดไทย ด้านเภสัชกรรมไทย ด้านผดุงครรภ์ไทย และด้านเวชกรรมไทย และสำหรับท่านใดที่สนใจทางคลินิกการแพทย์แผนไทยยังมีบริการต่าง ๆ โดยสามารถเข้าติดตาม สอบถาม หรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพต่าง ๆ หรือ แนวทางการศึกษาต่อ ได้ทางเพจ : แนะแนวการแพทย์แผนไทย มทร.ศรีวิชัย






บรรยายพิเศษ The Great Remake: สร้างคนสู่โลกใหม่ โดย ดร.สันติธาร เสถียรไทย

Thu, 30/09/2021 - 14:32

 

       ตามที่ประชุมนายกสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปนอ.มทร.) ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 ได้เรียนเชิญ ดร.สันติธาร เสถียรไทย นำเสนอ แนวทางการปรับแผนยุทธศาสตร์ Post Covid ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง จากกรณีศึกษา “The Great Remake สู่โลกใหม่” เพื่อให้นายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี และหัวหน้าหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง ได้นำแนวคิดของ ดร.สันติธาร เสถียรไทย ใช้เป็นแนวทางการปรับยุทธศาสตร์ Post Covid ของมหาวิทยาลัย

 

Embedded video for บรรยายพิเศษ The Great Remake: สร้างคนสู่โลกใหม่ โดย ดร.สันติธาร เสถียรไทย


พิธีพิธีแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2564

Wed, 29/09/2021 - 12:27

มทร.ศรีวิชัย จัดพิธีพิธีแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2564 โดยมี ศ.ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมพิธี ซึ่งในปีนี้ มทร.   ศรีวิชัย สงขลามีผู้เกษียณอายุราชการอายุราชการ จำนวน 12 ท่าน มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง มีผู้เกษียณอายุราชการ จำนวน 3 ท่าน มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ผู้เกษียณอายุราชการ จำนวน 16ท่าน ซึ่งได้มีการมอบของที่ระลึกให้กับผู้เกษียณ ร่วมพูดคุย และถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ในบรรยากาศอบอุ่นและเป็นกันเอง

 




































คณะสถาปัตย์ มทร.ศรีวิชัย คว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศ การประกวดผลงานศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ SACIT Award 2021

Wed, 29/09/2021 - 12:15

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดี กับคณาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ สาขาศิลปกรรมและออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากโครงการการประกวดผลงานศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ SACIT Award 2021 “ผ้าไทยใส่ได้ทุก Gen โดยได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ได้แก่ ประเภท บุคคลทั่วไป รางวัลชนะเลิศ ภาคใต้ ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ  Generation Y ได้แก่ นางสาวซูมัยยะห์ ตอรี  นายประพนธ์ ชนะพล  และ นางสาว    ณัฐชนา นวลยัง เจ้าของผลงาน มนต์เสน่ห์เมืองใต้ (การออกแบบผ้าทอผ้าบาติก เก๋บาติก จ.ยะลา) โดยมี ดร.นวัทตกร อุมาศิลป์ และ อ.ณัฐชนา นวลยัง ผู้ควบคุมและให้คำปรึกษา

มนต์เสน่ห์เมืองใต้ ได้รับแรงบันดาลใจจากความสวยงามของทรัพยากรทางธรรมชาติของภาคใต้ เทือกเขา Halabala  ที่เต็มไปด้วยสัตว์ป่า และพฤกษานานพรรณ ทั้งผู้ออกแบบนำเสนอ เครื่องแต่งกายที่สอดคล้อง กับไลท์สไตล์ ของกลุ่ม gen y ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของการดีไซน์ที่ทันสมัย ตัดเย็บด้วย เนื้อผ้าที่มีคุณภาพดีผู้ออกแบบเลือกใช้/วัตถุดิบจากกลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มเก๋บาติก จ.ยะลา ที่แสดงถึงมรดกทางภูมิปัญญาอันล้ำค่าสู่ อัตลักษณ์อันโดดเด่นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ เนื่องจาก gen y สามารถเป็นกระบอกเสียง สำคัญในการเผยแพร่ภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมไทย ให้เข้าถึงแฟชั่นในปัจจุบัน เพื่อเข้าสู่ระดับสากลต่อไป เทคนิคเขียนบาติกแบบ freehand

รางวัลชนะเลิศ ประเภทนิสิต/นักศึกษาใน Generation Z รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่   นางสาวสาลินี ไพบูลย์รุ่งโรจน์ และ นางสาวณัฐพร ธีรสุปาณี เจ้าของผลงาน SKATER The New Wave (การออกแบบผ้าทอนาหมื่นศรี จ.ตรัง)   ผ้าไทยใส่ได้ทุกGen“Skater The New Wave” The new wave คลื่นลูกใหม่ แรงต้านที่กระทบเข้าหาฝั่งโดยไร้สิ่งใดต้านทาน เปรียบเสมือกับเด็กใน Gen Z ที่เติบโตมาพร้อมกับความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้โดยไม่หวั่นกลัวต่อสิ่งใด คลื่นลูกใหม่นี้ที่จะพัฒนาโลกของเราให้เดินไปข้างหน้า โดย Concept ในการออกแบบคือ Skater หรือกีฬา Skateboard ตัวแทนของวัยรุ่นในยุคนี้สื่อถึงความกล้า ไม่เกรงกลัวที่จะพัฒนาตัวเอง และก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ เปรียบเสมือนกับคลื่นที่กระทบเข้าหาฝั่งอยู่ตลอดเวลานั่นเอง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของเราคือ เด็กรุ่นใหม่ในช่วงอายุตั้งแต่ 9 – 24ปี เหล่าเด็กนักเรียนนักศึกษา ที่ก้าวทันกระแส Social ผู้นำแฟชั่นหรือกระแสที่กำลังนิยมในปัจจุบัน ให้หันมาให้ความสนใจ และสนุกไปกับการสวมใส่ผ้าไทย โดยเทคนิคที่นำมาใช้ในการออกแบบ ได้แก่ การปักทึบ, การเย็บกด และการเย็บแบบ Boro Stitches เป็นต้น ด้านรูปทรงของชุดนั้น ทางผู้ออกแบบต้องการให้มีความคล่องตัวในการสวมใส่ มีความสดใสและเท่ผสมผสานกันอย่างลงตัว และที่สำคัญต้องสวมใส่ได้จริงในชีวิตประจำวัน ทางผู้ออกแบบได้เลือกใช้ ผ้าฝ้ายทอมือ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง มาเป็นวัสดุหลักในการตัดเย็บ ซึ่งลักษณะพิเศษของผ้าทอนาหมื่นศรีอยู่ที่โครงสร้างของผืนผ้า ลวดลาย และสี เนื่องจากผู้ทอเป็นช่างที่มีฝีมือสามารถนำลวดลายต่าง ๆ มารวมไว้ในผืนผ้า เช่น ลายลูกแก้วใหญ่ ลายตาหมากรุก เป็นต้น โดยผ้าที่ผู้ออกแบบเลือกใช้ คือ ผ้าทอลายตาหมากรุก สาเหตุที่เลือกเพราะ ผ้าลายนี้มีความโดดเด่นในเรื่องของสีสันและลวดลายที่ทันสมัยไม่ว่าจะยุคไหน ๆ เข้าถึงได้ง่ายเหมาะกับเด็กใน Gen Z






รมต.ว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมพิธี MOU มทร.ศรีวิชัย กับกรมการขนส่งทางราง

Thu, 23/09/2021 - 14:59

เมื่อวันที่  23 กันยายน 2564  มทร.ศรีวิชัย ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านระบบราง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง”ระหว่างกรมการขนส่งทางราง กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย รศ.จรูญ เจริญเนตรกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.ดร.จารุวัฒน์ เจริญจิต รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และดร.อาศิส อัยรักษ์ หัวหน้าหลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านระบบรางเพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง”ระหว่างกรมการขนส่งทางรางกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting โดยมีศาตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นผู้ร่วมลงนามในพิธีฯ ซึ่งพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านระบบราง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง”เป็นการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ของกรมการขนส่งทางราง กับ หน่วยงานทั้ง 6 ฝ่าย โดยมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานในพิธี และร่วมลงนามในฐานะประธานสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงฯ และนายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวรายงานในพิธีฯ









(สอต.3) เข้าพบและหารือแนวทางการขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงฯ

Tue, 21/09/2021 - 11:49

วันอังคารที่ 21 กันยายน 2564 ศ.ดร สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารร่วมหารือ “แนวทางการขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ด้านวิชาการ ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรวิชัย กับ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3” (สอต.3)โดย มี ดร.ปรีชา เวชศาสตร์ ผอ.สถาบันนำทีมผู้บริหาร เข้าพบหารือการขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว ณ ห้องประชุมศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอเมือง  จังหวัดสงขลา












มทร.ศรีวิชัย ร่วมกับ อบต.แก้วแสน ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร สู้ภัยโควิด-19 และสร้างรายได้สู่ชมชน

Thu, 16/09/2021 - 11:36

          คณะเกษตรศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) ร่วมกับ อบต.แก้วแสน อ.นาบอน  จ.นครศรีธรรมราช มอบต้นสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจำนวน 4,999 ต้น ในพื้นที่ตำบลแก้วแสน อ.นาบอน  จ.นครศรีธรรมราช เพื่อปลูกเป็นสมุนไพรต้านไวรัสโควิด-19 และสร้างรายได้ให้กับประชาชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

          ผศ.สมคิด ชัยเพชร รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตนครศรีธรรมราช  กล่าวว่า ตามที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจของ ประเทศ ประชาชนได้รับผลกระทบ อย่างรุนแรง ประชาชนที่ว่างงานย้ายกลับถิ่นฐานจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา นโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงมุ่งเน้นที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทั้งการ สร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน และปัจจุบันสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โคโรน่า 2019 (COVID-19) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ที่เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์พันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19)

          ผศ.ธรรมศักดิ์ พุทธกาล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย กล่าวว่า คณะเกษตรศาสตร์ จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร (ฟ้าทะลายโจร) สู้ภัยโควิด-19 ครั้งนี้ เป็นการส่งเสริมการปลูกฟ้าทะลายโจร ให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประชาชน จะเป็นโอกาสให้กับประชาชนตำบล แก้วแสน ในการต่อยอดสร้างรายได้ให้กับตนเอง และเป็นการรักษาเสถียรภาพด้านปริมาณ และราคาให้เกิดความสมดุล และเพิ่มการใช้พืชสมุนไพรไทย เป็นทางเลือกในการบำบัด ควบคุม และรักษาโรคเพิ่มขึ้น ซึ่ง มทร.ศรีวิชัย มีนโยบายขับเคลื่อนการปลูกสมุนไพรฟ้าทะลายโจร เพื่อเป็นยาต้านไวรัสโควิด-19 ผลการศึกษาพบว่า ฟ้าทลายโจรมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ ฟ้าทะลายโจรมีสารแอนโดรกราโฟไลด์ มีโอกาสที่จะช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล และการนำเข้ายาจากต่างประเทศได้ สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

         นอกจากนี้ คณะเกษตรศาสตร์ จะดำเนินการต่อยอดในการบูรณาการโครงการ ต่างๆระหว่างชุมชนหรือตำบลในพื้นที่ ทั้งด้านการใช้ทรัพยากรโครงการ ร่วมกัน การแบ่งปันองค์ความรู้และเทคโนโลยีร่วมกัน โดยการส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือร่วมทั้งภูมิปัญญาอาชีพที่เป็นเอกลักษณ์ในท้องถิ่น ส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน โดยดำเนินการสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ด้วยหลักสูตรฝึกอบรมที่ผ่านการวิเคราะห์ และออกแบบ ตอบสนองความต้องการของชุมชน







มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ ต้อนรับ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ลงพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช

Fri, 10/09/2021 - 18:38

 

มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ โดย ผศ.สุธรรม ชุมพร้อมญาติ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากร นำทีม U2Tคลองเส โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ต.คลองเส อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช ร่วมจัดบูธนิทรรศการกิจกรรมของ U2T คลองเส และประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565 ในโอกาสตรวจราชการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมหลังวิกฤตโควิด-19 ของนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ณ วัดถ้ำทอง   อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ในบรรยากาศของการควบคุมสถานการณ์โรคโควิด-19      ที่ทุกฝ่ายได้ดำเนินการเพื่อการป้องกันและควบคุมโรค ด้านการท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่จะช่วยสร้างรายได้และเม็ดเงินให้สะพัดในพื้นที่ ได้มีการเดินหน้าเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการเปิดเมืองเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งเมื่อสถานการณ์ของ โรคโควิด-19 คลี่คลายจะได้พร้อมสำหรับการพลิกฟื้นยกระดับการท่องเที่ยว โดยจะหาจุดเด่นในแต่ละพื้นที่ ดึงสิ่งที่เป็นของดีที่สุดในแต่ละด้าน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามา ใครมีดีกว่าก็จะดึงนักท่องเที่ยวได้มากกว่า และจะเดินหน้าผลักดันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและศาสนา โดยจะเร่งยกระดับการท่องเที่ยวทุกด้าน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว และสานต่อโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล ฝั่งอ่าวไทยไปจนถึงฝั่งอันดามัน และส่งเสริมของดีชุมชน และอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดให้พร้อมจะต้อนรับนักท่องเที่ยวในช่วงการเปิดเมือง ที่จะให้ความสำคัญด้านการสร้างความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ

ด้าน มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ ได้มีบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนในพื้นที่อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่มีอยู่ ให้มีความทันสมัยตอบโจทย์ตลาดได้มากยิ่งขึ้น เช่น การยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟสด@ผึ้งโพรงไทยบ้านด่านช้าง การยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผึ้งโพรงไทย การยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตร บ้านสามัคคีธรรม บ้านนาแยะใต้ นอกจากนี้ทางทีม U2T คลองเส ก็ยังมีภารกิจสู้ภัย Covid -19 กับ 3 Step คือ "รุกคลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยในชุมชน และให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีน COVID -19 รวมถึงรณรงค์การฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID -19 เพื่อให้ประชาชนมีความพร้อมสำหรับเปิดเมืองรับการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย โดยทาง มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ ได้นำเสนอผลงานการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้เข้ามามีบทบาทช่วยเหลือชุมชนในอำเภอถ้ำพรรณรา ของทีม U2T คลองเส พร้อมกับมอบของที่ระลึกแด่ท่าน รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นกระเป๋าผ้าที่ผลิตจากผ้าไหมและผ้ายกเมืองนคร ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช และกระเป๋าผ้าของที่ระลึกก็จะเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทาง U2T คลองเส กำลังดำเนินการเพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน ต.คลองเส อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช ในโอกาสถัดไป








วช. - กอ.รมน. นำผลงาน เครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหย มทร.ศรีวิชัย เพิ่มมูลค่าสมุนไพรชุมชน จังหวัดสระบุรี

Thu, 09/09/2021 - 16:16

 

ผศ.จีระศักดิ์ เพียรเจริญ และ รศ.ดร.จารุวัฒน์ เจริญจิต จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี        ราชมงคลศรีวิชัย เผยนำนวัตกรรมเครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหยด้วยน้ำและไอน้ำ ลงพื้นที่ ณ ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต.บ้านลำ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในความร่วมมือกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างผลิตภัณฑ์ OTOP เพิ่มมูลค่าสมุนไพรในชุมชน

นวัตกรรมเครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยใช้น้ำและไอน้ำ ที่มีข้อดี คือ สามารถใช้กับวัตถุดิบได้หลากหลายประเภทกว่าวิธีอื่น และยังมีประสิทธิภาพสูง ใช้เทคนิคที่ไม่มีความซับซ้อน โดยเกษตรกรหรือชุมชนสามารถใช้งานได้เอง เตรียมนำองค์ความรู้ที่ได้ไปต่อยอดให้กับศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต.บ้านลำ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี สกัดพืชสมุนไพรที่มีอยู่แล้วในชุมชน อาทิ ใบมะกรูด ผลมะกรูด และตะไคร้หอม ช่วยให้ชุมชนมีความต้องการที่จะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง สร้างความตระหนักด้านสมุนไพรไทยให้เป็นที่นิยม

เครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหย ภายในถังต้มหรือหม้อกลั่น จะมีตะแกรงสำหรับใส่วัตถุดิบสมุนไพรปริมาณครั้งละ 5 กิโลกรัม ไว้เหนือระดับน้ำ จากนั้นจึงปิดฝาและล็อคให้สนิท ทำการเติมน้ำสะอาดปริมาณ 20-25 ลิตร เข้าไปในถัง โดยการใส่ให้เหนือระดับฮีตเตอร์เพียงเล็กน้อย เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน ให้ความร้อน ด้วยกำลังไฟ 3,500 วัตต์ เมื่อน้ำเดือดจนกลายเป็นไอน้ำที่อิ่มตัวหรือไอเปียก ใช้เวลา 40 นาที ไอน้ำจะลอยไปสัมผัสกับวัตถุดิบซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำร้อน ไอน้ำจะไปละลายสารเคมี และน้ำมันที่อยู่ที่วัตถุดิบ จนลอยไปปะปนกับไอน้ำ และเข้าไปยังถังคอนเดน ไอน้ำภายในท่อจะสัมผัสกับน้ำหล่อเย็น ที่มีการควบคุมอุณหภูมิน้ำให้อยู่ที่ ประมาณ 15-25 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิปกติ ทำให้ไอน้ำเปลี่ยนสภาพกลายเป็นของเหลว ซึ่งมีน้ำและน้ำมันปะปนมาด้วย การกลั่นใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง จนได้เป็นน้ำกลั่น หรือ น้ำที่มีการแยกเป็น 2 ส่วน คือ น้ำมันจากสมุนไพรที่ลอยอยู่ด้านบน และน้ำจากการกลั่นที่อยู่ด้านใต้ ได้ปริมาณน้ำมัน 30-50 cc โดยสามารถนำน้ำทั้ง 2 ส่วน มาแยกออกจากกันด้วยวิธีการค่อย ๆ เทออกมานั่นเอง ทั้งนี้ปริมาณน้ำมันจากการสกัดจากพืชแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดสมุนไพร และอุณหภูมิน้ำที่มีการควบคุมไว้ การกลั่นโดยวิธีนี้พืชที่กลั่นจะไม่สัมผัสกับความร้อนโดยตรง ทำให้น้ำมันหอมระเหยมีคุณภาพสูง

อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมดังกล่าวได้นำไปติดตั้งให้กับชุมชนจังหวัดสระบุรีเรียบร้อยแล้ว โดยขณะนี้ ทีมนักวิจัย และนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อยู่ในช่วงการพัฒนาด้านมาตรฐานน้ำมันหอมระเหย และเรียนรู้การสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากแพทย์แผนไทย เพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น สเปรย์ฉีดกันยุง สเปรย์ปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์ลดกลิ่นอับ หรือแม้แต่ สเปรย์ที่สามารถหยดลงไปในอาหารได้ เพื่อเตรียมนำไปถ่ายทอดให้กับชุมชน หวังจะพัฒนาเป็นสินค้าOTOP สร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนต่อไป

 







มทร.ศรีวิชัย ร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 7

Thu, 02/09/2021 - 15:31

เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564  ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  เข้าร่วมประชุม วิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 7 The 7 th Engagement Thailand Annual Conference: Innovation - Engaged Societyสังคมผูกพัน สร้างสรรค์นวัตกรรม   ซึ่งจัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และด้วยมีมติเห็นชอบคัดเลือกให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 8ในปี 2565  ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส  อธิการบดีมทร.ศรีวิชัย กล่าวว่า  ในฐานะตัวแทนมหาวิทยาลัยกลุ่มภาคใต้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มีเป้าหมายในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมเพื่อสังคม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและโดดเด่นตามอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและศิลปวัฒนธรรมของชุมชน สังคม ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สำหรับเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของภูมิภาคและประเทศซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้มีโอกาสร่วมทำงานกับสมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม เริ่มต้นรวมตัวมหาวิทยาลัยที่ทำงานด้านบริการวิชาการแก่สังคม เป็นเครือข่าย Engag Thailand และได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand  ในปี 2565  ด้วยพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม ร่วมคิด ร่วมทำด้วยการรวมพลังมหาวิทยาลัยในภูมิภาคภาคใต้ ร่วมขับเคลื่อน "พันกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม :พลังปัญญาแดนใต้กับการพัฒนาที่ยั่งยืน"












































มทร.ศรีวิชัย ขนอม ร่วมกับ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ภาคีเครือข่ายอำเภอขนอม MOUผ่านระบบออนไลน์ #จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ (Smart farming)

Fri, 27/08/2021 - 22:06

วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ ร่วมกับ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายอำเภอขนอม #ร่วมลงนามเห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือผ่านระบบออนไลน์ #จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ (Smart farming)

วันที่ 27 สิงหาคม 2564 ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มอบหมาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ขวัญหทัย ใจเปี่ยม ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ขนอม ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย โดยนายสมนึก

แพงวาปี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แยกก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), นายอนุชา สวัสดิรัตน์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท้องเนียน, นายกิตติ์ณพงศ์ วงศ์เกลี้ยง เกษตรอำเภอขนอม กรมส่งเสริมการเกษตร, นางสาวอภิรมย์ มนัส ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอขนอม และ นายจิโรจน์ สำแดง นายอำเภอขนอม ร่วมลงนามเห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสสายพันธุ์ใหม่โคโรน่า 2019 (COVID-19) เป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ (Smart farming) บนเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ เลขที่ 99 หมู่ 4 ตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญหทัย ใจเปี่ยม กล่าวว่า “นับเป็นนิมิตหมายที่ดีและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ทางบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม ได้เลือกพื้นที่ของวิทยาลัยฯ ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สมัยใหม่ (Smart farming) และเห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน เสริมสร้างทักษะให้เป็นนักปฏิบัติอย่างแท้จริง เตรียมพร้อมสู่การพัฒนาแห่งอนาคตภายใต้แนวคิดผลิตได้ ขายเป็น”

นายสมนึก แพงวาปี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แยกก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ขอบคุณภาคีเครือข่ายที่ร่วมผลักดันโครงการของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) Smart farming ถือเป็นโครงการที่ทาง ปตท. สนับสนุนให้เกิดขึ้นกับพื้นที่ชุมชน โดย มทร.ศรีวิชัย พื้นที่ขนอม เป็นพื้นที่มีความพร้อมในการสร้างศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ (Smart farming) อย่างเป็นรูปธรรม เราคาดหวังว่าจะได้มีการแบ่งปันองค์ความรู้ที่เรามีให้กับคนในพื้นที่ ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในประกอบอาชีพได้ และ ปตท. ยินดีที่จะสนับสนุนกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน"

โดยเป้าหมายของความร่วมมือ คือ 1) เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชนและผู้สนใจ ได้มีพื้นที่ทำกิน สร้างงาน สร้างรายได้ ในการเข้าร่วมกิจกรรมทำเกษตรสมัยใหม่ ผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย 2) มุ่งหวังในการสร้างองค์ความรู้ให้ชุมชน เพื่อสามารถนำไปสร้างอาชีพของตัวเองที่มั่นคงและยั่งยืน  3) เพื่อร่วมกันพัฒนาการเกษตรให้เป็นเกษตรกรรมสมัยใหม่ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการบริหารจัดการแบบระบบ IoT  4) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงาน โดยส่งเสริมการทำงานในรูปแบบการสร้างภาคีเครือข่าย ให้เป็นพลังร่วมที่มีความเข้มแข็งในการช่วยเหลือดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม และ 5) มุ่งหวังให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ และแหล่งเรียนรู้พืชสมุนไพร อันจะเกิดประโยชน์ในทางการแพทย์ ต่อชุมชนและประชาชน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ถือเป็นความช่วยเหลือ และพัฒนาชุมชนโดยไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ ทางกฎหมาย






โครงการการพัฒนาอาชีพชุมชนประมงพื้นที่รอบแหล่งพะยูนและหญ้าทะเล

Thu, 26/08/2021 - 15:57

ผศ. โกสินทร์ พัฒนมณี รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง ได้มอบหมายนโยบายการสนับสนุนกิจกรรม ถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนเพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้และอาชีพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง สาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหาร ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปสัตว์น้ำจากวัตถุดิบในท้องถิ่น ภายใต้ “โครงการพัฒนาอาชีพชุมชนประมงพื้นที่รอบแหล่งพะยูนและหญ้าทะเล จังหวัดตรัง” โดยได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดตรัง

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ดร.นัฏฐา คเชนทร์ภักดี อาจารย์ประจำสาขาอุสาหกรรมอาหาร หัวหน้าโครงการ  พร้อมด้วยบุคลากร และนักศึกษา สาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหาร  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง เป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้สาธิตการแปรรูปอาหารทะเลผ่านระบบออนไลน์  ให้กับกลุ่มเครือข่าย ชุมชนประมงในพื้นที่ อำเภอสิเกา และอำเภอกันตัง เนื่องจากแต่ละชุมชนมีความแตกต่าง ด้านผลิตภัณฑ์ประมงที่แตกต่างกัน จึงได้มีการแบ่งการสาธิตแปรรูปอาหารทะเลออกเป็นเมนูต่างๆ ตามวัตถุดิบที่หาได้ในชุมชนนั้นๆ กอบด้วยการการสาธิตการทำ แฮกึ้น ลูกชิ้นปลา ปอเปี๊ยะทะเล ให้กับชุมชนบ้านปากคลอง  การสาธิตการทำลูกชิ้นปลา น้ำพริกปูคั่วกลิ้ง ให้กับชุมชนบ้านแหลมไทร  การสาธิตการ ลูกชิ้นปลา น้ำพริกปูคั่วกลิ้ง ปอเปี๊ยะทะเล ให้กับชุมชนตำบลเกาะลิบง และการสาธิตการทำ ลูกชิ้นปลา ข้าวเกรียบปลา ให้กับชุมชนบ้านแหลมขาม พร้อมทั้งการบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพ และสร้างรายได้สู่ครัวเรือน โดยได้ดำเนินกิจกรรมใน ระหว่างวันที่ 20 ก.ค.-20 ส.ค. 2564  ในรูปแบบออนไลน์ ด้วยระบบ  Zoom meeting เพื่อเป็นไปตามมาตรการป้องกัน COVID -19










วิทยาลัยรัตภูมิ มทร.ศรีวิชัย สามารถคว้ารางวัล Smart Agro-Machinery DIProm 2021

Thu, 26/08/2021 - 15:52

ขอแสดงความยินดี กับ วิทยาลัยรัตภูมิ มทร.ศรีวิชัย ส่ง “ระบบผสมและพาสเจอร์ไรซ์น้ำมะนาวพร้อมดื่มแบบอัตโนมัติ”ผลงงานของ อาจารย์ทศพิธ  วิสมิตนันท์   อาจารย์สุห์ดี  นิเซ็ง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร อาริษา โสภาจารย์  ดร.ภานุมาศ สุยบางดำ  และอาจารย์ นันทพงษ์ พงษ์พิริยะเดชะ เข้าร่วมประกวดรางวัลส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ระดับชาติ ประจำปี 2564” Smart Agro-Machinery DIProm 2021 จัดโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีหน่วยงานส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ทั้งสิ้น 115 ทีม วิทยาลัยรัตภูมิ มทร.ศรีวิชัย สามารถคว้ารางวัล “รองชนะเลิศอันดับ 1.” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้มอบรางวัลและโล่เกียรติยศ ผ่านทาง Facebook Live www.facebook.com/dipromindustry เมื่อที่ 25 สิงหาคม 2564  ที่ผ่านมา








มทร. ศรีวิชัย ตรัง วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว โดยชมรมยุวกาชาด จัดกิจกรรมแบ่งปันน้ำใจสู่สังคม

Thu, 26/08/2021 - 15:47

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19  ส่งผลให้จังหวัดตรังมีจำนวนผู้ป่วยสะสมเพิ่มมากขึ้น ชมรมอาสายุวกาชาด วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว มทร. ศรีวิชัย ตรัง ภายใต้การบริหารงานโดย ผศ.      ฟ้าพิไล ทวีสินโสภา ผู้อำนวยการวิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยวได้สนับสนุนการดำเนินงาน “โครงการอาสาทำประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์  ปีที่1”

ชมรมอาสายุวกาชาด วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว ได้เปิดรับบริจาค เงินสมทบทุน และสิ่งของอุปโภค บริโภค จากการสำรวจความต้องการสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ให้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนามของจังหวัดตรัง  อ.จิรัชญา บุญช่วย ที่ปรึกษาชมรม กล่าวว่า จาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคCOVI-19 ในครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนจึงได้ทำโครงการ อาสาทำประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์ ปีที่1 โดยการดำเนินกิจกรรมจะต้องเป็นไปตามมาตรการป้องกันCOVID -19 จึงจัดทำการประชาสัมพันธ์ เปิดรับบริจาค เงินและสิ่งของเครื่องใช้อุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็น ผ่านระบบออนไลน์ และนำเงินส่วนหนึ่งจากชมรมอาสายุวกาชาดร่วมสมทบทุนเพื่อจัดซื้อสิ่งของอุปโภคบริโภคตามความต้องของโรงพยาบาลสนามในแต่ละพื้นที่ โดยอาจารย์ที่ ปรึกษาชมรม และตัวแทนนักศึกษา จากชมรมอาสายุวกาชาด ได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลสนามรักษาผู้ป่วยCOVID-19ในจังหวัดตรังและได้ทำการส่งมอบสิ่งของเครื่องใช้อุปโภคบริโภค ให้กับโรงพยาบาลสนามทั้ง 3 แห่ง ของจังหวัดตรัง ประกอบด้วย โรงพยาบาลสนามแห่งที่ 3 ณ ลานจอดรถชั้น 10  โรงพยาบาลศูนย์ตรังโดย ได้ทำการส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่ตัวแทนจากโรงพยาบาลตรัง ที่ห้องประชุมรวงผึ้ง จากนั้นได้เดินทางไปยัง โรงพยาบาลสนามแห่งที่ 4 ณ อาคารยิมเนเซียมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง และได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 5 ณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตตรัง และได้ร่วมให้กำลังใจการทำงานของเจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ ณ โรงพยาบาลสนามแต่ละพื้นที่อีกด้วย







วิศวะ มทร.ศรีวิชัย มอบอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19

Tue, 17/08/2021 - 20:27

วันที่ 17 สิงหาคม 2564 เวลา 14.00 น.  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย ส่งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ เพื่อสนับสนุนเครื่องมือทางแพทย์ในสถานการณ์ COVID-19 โดยมี รองศาตราจารย์ ดร.จารุวัฒน์ เจริญจิต รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมส่งมอบอุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 ได้แก่ อุปกรณ์ฉากกั้นอะคลิลิก และกล่องป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อไวรัส ซึ่งคุณดวงใจ นพวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล และบุคลากรโรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ ร่วมรับมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์    

ทั้งนี้การส่งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ เพื่อนำไปใช้ในการติดตั้งป้องกัน    การแพร่กระจายเชื้อในห้องพักรับประทานอาหารของเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยใน และนำไปใช้ในการทำหัตถการกับผู้ป่วยโรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ อีกทั้งยังช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 ในขณะปฏิบัติหน้าที่ต่อไป







เปิดโรงพยาบาลสนามอำเภอทุ่งใหญ่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

Fri, 13/08/2021 - 10:29

พิธีเปิดโรงพยาบาลอำเภอทุ่งใหญ่ โดย ผศ.สมคิด ชัยเพชร รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตนครศรีธรรมราช อาจารย์สมยศ ศรีเพิ่ม ผู้ช่วยอธิการบดีประจำวิทยาเขตนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร มทร.ศรีวิชัย    ทุ่งใหญ่ เข้าร่วมพิธีเปิดโรงพยาบาลสนามอำเภอทุ่งใหญ่ ณ อาคารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี     ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ทุ่งใหญ่

ในพิธีเปิดนายตระกูล หนูนิล นายอำเภอทุ่งใหญ่ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามต่อประธานในพิธี นายอารี ไกรนรา รองประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง สภาผู้แทนราษฎร ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด และมีนายไตรรัตน์ ไชยรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุ่งใหญ่ สาธารณสุขอำเภอทุ่งใหญ่ และคณะทำงานทุกท่าน ในการเข้าร่วมพิธีเปิดในวันนี้

โรงพยาบาลสนามอำเภอทุ่งใหญ่ ขนาดความจุ 100 เตียง ณ อาคารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ทุ่งใหญ่ เป็นสถานที่ดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่ไม่มีอาการ ไม่พบเชื้อหรือรักษาหายแล้ว มาพักฟื้นภายในระยะเวลา 14 วัน หรือภายในระยะเวลาที่แน่ใจว่าผู้ป่วยหายจากโรคก่อนส่งกลับที่อยู่อาศัยโดยการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามจะเป็นไปตามมาตรฐาน ถูกต้องตามหลักวิชาการและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างเคร่งครัด








มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ยกระดับพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนด้วยห่วงโซ่คุณค่าใหม่ เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ

Tue, 10/08/2021 - 11:24

หน่วยจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ สถาบันวิจัยพัฒนา มทร.ศรีวิชัย ร่วมกับ บพท. และ สอวช. หนุน “โครงการการยกระดับพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนด้วยห่วงโซ่คุณค่าใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่สู่ตลาดการแข่งขัน” บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่น เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก และเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่จังหวัดตรัง ภายใต้แผนงานสำคัญ (Flagship) “มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่” กรอบการวิจัย “การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่” (Local Enterprises) หน่วยจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ สถาบันวิจัยพัฒนา มทร.ศรีวิชัย จัดโครงการ “การยกระดับพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนด้วยห่วงโซ่คุณค่าใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่สู่ตลาดการแข่งขัน” ได้จัดกิจกรรมทบทวนแผนงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมาย ครั้งที่ 2 ร่วมกับภาคีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผ่านระบบ Zoom meeting เพื่อรับฟังคำแนะนำ ปรึกษาหารือและแลกเลี่ยนความคิดเห็นการดำเนินงานโครงการวิจัย โดยมี ผศ.โกสินทร์ พัฒนมณี รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม ผศ.ดร. อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มทร.ศรีวิชัย ระบุว่า การดำเนินงานวิจัยที่ผ่านมาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และตอบโจทย์เป้าหมายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนได้ในอนาคต โดยมีผศ. ประภาศรี ศรีชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พร้อมคณะทำงานร่วมกับนักวิจัย จับมือกับตัวแทนภาคี ในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนในพื้นที่จังหวัดตรัง ร่วมหารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน โดยมี นายลือชัย เจริญทรัพย์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ร่วมให้คำแนะนำและแนวทางการดำเนินงาน นอกจากนั้นกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน จังหวัดตรัง ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และปัญหาการปลูกพริกไทย รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ จึงได้มีการหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานดังกล่าว เพื่อการส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากพริกไทย และการพัฒนาศักยภาพการผลิตพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน ซึ่งเป็น อัตลักษณ์จังหวัดตรัง โดยมุ่งหวังเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานให้มีการต่อยอดและพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป








ครุศาสตร์ฯ มทร.ศรีวิชัย อบรมการใช้คอนเทนต์และการผลิตสื่อ เชิงรุก เพิ่มมูลค่าสินค้าให้กับชุมชน

Tue, 10/08/2021 - 11:17


 

ผศ.ปิยะ ประสงค์จันทร์ คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย เปิดอบรมผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom Cloud Meeting เชิงรุกให้กับผู้เข้าร่วมโครงการกับชุมชน   ต.ปากรอ  ต.คูขุด   ต.บางเขียด   ต.โรง  ต.ปากบาง  ต.เกาะสะบ้า

ผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด (Covid – 19 )  ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการหลาย ๆ กลุ่มของชุมชนต้องปิดตัวลงและขาดรายได้ภายในครอบครัว และส่งผลกระทบให้วิถีการดำรงชีวิตเป็นไปด้วยความอยากลำบากมากขึ้น  โดยการอบรมหลั กสูตร Blog และหลักสูตร Bloger เป็นการให้ความรู้และการเสริมสร้างอาชีพใหม่ ๆ   ในชุมชน  Blog เป็นการผลิตสื่อทำบันทึกในด้านต่าง ๆ และ Bloger การเขียนบทความที่ทำให้มีความหน้าสนใจมากยิ่งขึ้นรวมถึงการนำเสนอ ข้อมูลในส่วนเฉพาะด้านนั้น ๆ  เน้นให้เห็นการแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์หรือตัวตนของผู้จัดทำเองออกมาให้มากที่สุด เพื่อช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรม รู้หลักทฤษฎีถึงเครื่องมือ ในการเขียนบทความออนไลน์ คอนเทนท์ออนไลน์ หรือในการจัดรูปแบบขององค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อเทคนิคต่อยอดสู่อาชีพ ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะในการเสริมสร้างอาชีพใหม่ในชุมชน และสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมสำหรับยกระดับสินค้าหรือบริการของชุมชน อีกทั้งยังช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รู้หลักการรวมถึงแนวปฏิบัติของการทำสื่อโฆษณา และสามารถนำมาใช้ได้จริง

          คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมดิจิทัล ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาและนักเทคโนโลยีอย่างมืออาชีพ ดังนั้นการให้บริการชุมชนโดยการนำเทคนิคที่ใช้ในการเรียนการสอนไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน พร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนให้เติบโต มีอาชีพและมีรายได้   ถือว่าเป็นการสร้างสรรค์ผลงานอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม โดยเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ ในช่วงสถานการณ์โรคระบาด (Covid  -19)


 

         

 

 

 

 






คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมงมทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ส่งมอบถุงน้ำใจช่วยเหลือชาวบ้าน พื้นที่บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง

Thu, 05/08/2021 - 10:15

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ทองหนูนุ้ย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง พร้อมด้วย รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา หัวหน้าสำนักงานคณบดี และบุคลากร ร่วมกันบรรจุสิ่งของจำเป็นสำหรับการบริโภคอุปโภค ได้แก่ ข้าวสาร น้ำตาล น้ำมันพืช น้ำปลา ปลากระป๋อง หน้ากากอนามัย และเจลล้างมือแอลกอฮอล์ (CAJUPUT HAND SANITIZER GEL) ซึ่งผลิตโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมงภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 25 ชุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีนางสาวกุลดา รัตนตรัง เป็นตัวแทนชาวบ้านรับถุงน้ำใจ ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง และนำไปส่งต่อให้กับชาวบ้านที่กักตัวอยู่ในหมู่บ้าน บ้านโต๊ะบัน หมู่ที่ 8 ตำบลบ่อหิน อำภอสิเกา จังหวัดตรัง







มทร.ศรีวิชัยวิทยาเขตตรัง เร่งช่วยเหลือเกษตรกร เพิ่มผลผลิตการเลี้ยงหอยนางรม ออกจำหน่ายสร้างรายได้สู่ชุมชน

Wed, 04/08/2021 - 13:58

หอยนางรมเป็นอาหารทะเลที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยส่วนใหญ่จะนิยมนำมารับประทานกับแบบสดๆ หรือจะนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่างหลากหลายเมนู อีกทั้งเปลือกหอยนางรมยังนำมาใช้ทำปูนขาว ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง ทั้งในด้านการเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม จึงไม่น่าแปลกใจที่หอยนางรมจะเป็นอาหารทะเลอีกชนิดหนึ่งที่มีความต้องการทางตลาดเป็นค่อนข้างสูง ผศ.โกสินทร์ พัฒนมณี รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง มทร.ศรีวิชัย ให้ความสำคัญในบทบาทหน้าที่การให้บริการวิชาการแก่สังคมด้วยนวัตกรรมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมหรือสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ ทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กรอบงานชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการเลี้ยงหอยนางรมแบบความหนาแน่นสูงเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียน ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรังภายใต้แผนงานนวัตกรรมพัฒนาพื้นที่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและหนุนเสริมผู้ประกอบการชุมชนในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง และลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา ดร.สุพัชชา ชูเสียงแจ้ว อาจารย์ประจำสาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ติดตามผลการดำเนินงาน การพัฒนาระบบการเลี้ยงหอยนางรมแบบความหนาแน่นสูง เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ลุ่มน้ำปะเหลียน ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ด้วยวิธีการเลี้ยงหอยนางรมในรูปแบบการเลี้ยงในตะกร้าและตะแกรงพลาสติก 3 ชั้น เพื่อเพิ่มปริมาณการเลี้ยงในแหล่งน้ำธรรมชาติ(กระชัง) ทำให้ได้ ปริมาณหอยนางรมเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมถึง 7 เท่า หรือประมาณ 7,200 ตัวต่อ 1 กระชัง จากเดิมที่เลี้ยงหอยนางรมได้จำนวน 1,000 - 2,000 ตัว ต่อกระชัง ด้านนายเลิศ โรยอุตระ และนายสมยศ ณะสม เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยนารมชุมชนบ้านแหลม อ.กันตัง จ.ตรัง กล่าวว่าการเลี้ยงหอยนางรมต้องใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง ประมาณ 1-1.5 ปี จะได้หอยนางรมที่จำหน่ายในท้องตลาด ราคาตัวละ 10-20 บาท จากการพัฒนาระบบการเลี้ยงหอยนางรมแบบความหนาแน่นสูง ทำให้ได้ปริมาณ หอยนางรมเพิ่มมากและมีอัตราการรอดสูง อีกทั้งยังไม่มีสารเคมีตกค้าง สร้างความพึงพอใจให้กับชาวเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยนารมบ้านแหลมเป็นอย่างมาก จากผลการดำเนินงานจึงได้มีการวางเป้าหมายเพื่อพัฒนาขยายพื้นที่ ในการเลี้ยงหอยนางรมไปยังชุมชนต่างๆ ซึ่งได้ทำการศึกษาระบบนิเวศและคุณภาพของน้ำ ที่เอื้อต่อการเลี้ยงหอยนางรมเพื่อส่งเสริมและสร้างรายได้ให้กับชุมชนในจังหวัดตรังต่อไป









Pages

RMUTSV Service

 ระบบจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระบบบริการสารสนเทศระบบข่าวประชาสัมพันธ์ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์สำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้นห้องเรียนเสมือน LMS